ศัพท์พื้นฐาน

ศัพท์ในชีวิตประจำวันที่ใช้ภายในกลุ่มชุมชนเอโรแมนติก

This glossary is a continuously updating record of terms that have been and are being used in the aromantic community. As a record, this glossary is meant to document the various concepts that are thought up when the language is not sufficient to describe people’s experiences and doesn’t encourage or discourage the use of any term.

Please keep in mind these are shortened definitions and identities can be nuanced. These terms were last updated in Oct. 2021.

Identity Terms | Attraction and Relationship Terms | Uncommon and Newly Emerging Terms

All Terms

 

Romantic orientation (รสนิยมทางใจ)

รูปแบบแรงดึงดูดทางใจของบุคคลหนึ่งในลักษณะโรแมนติก หรือรูปแบบที่ไม่มีแรงดึงดูดดังกล่าว


Aromantic/aro (เอโรแมนติก/เอโร)

  1. ทั่วไปหมายถึง บุคคลที่ไม่มีแรงดึงดูดทางใจในรูปแบบโรแมนติก หรือมีน้อยมาก (ย่อว่า เอโร ซึ่งมาจาก เอโรแมนติก)

    อีกแง่หนึ่งยังหมายถึง บุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความรักโรแมนติกที่ตัดขาดจากบรรทัดฐานหรือความคาดหวังทางสังคม เนื่องจากรู้สึกไม่พึงใจในความรักแบบโรแมนติก หรือไม่สนใจความสัมพันธ์แบบโรแมนติก

  2. ใช้แทนถึงอัตลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับกลุ่มบุคคลที่ไม่มีแรงดึงดูดทางใจในรูปแบบโรแมนติก

ธงไพรด์

อ่านเพิ่มเติม: คำถามที่พบบ่อย


Aromantic spectrum/arospec/aro (ความหลากหลายทางเอโรแมนติก/เอโรสเปก/เอโร)

  1. คือ คำที่ครอบคลุมความหมายโดยกว้างสำหรับรสนิยมทางใจแบบเอโรแมนติก โดยเน้นถึงความแตกต่างและหลากหลายของแรงดึงดูดทางใจประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่การไร้แรงดึงดูดทางใจแบบโรแมนติก ไปยังการมีแรงดึงดูดดังกล่าว หรือประสบการณ์เกี่ยวกับรักโรแมนติกที่ไม่ตรงตามค่านิยมหลักของสังคม (ย่อว่า เอโรสเปก ซึ่งมาจาก เอโรแมนติกสเปกตรัม*)

  2. ใช้แทนถึงอัตลักษณ์เฉพาะตัวของบุคคลที่มีความรักแบบโรแมนติกอย่างมีเงื่อนไข ไม่แน่นอน หรือบุคคลที่มีความรักแบบโรแมนติกอย่างไม่ตรงตามค่านิยมหลักของสังคม แต่ไม่ต้องการที่จะให้คำนิยามอย่างเจาะจงกับตัวเองไปมากกว่านี้


Aromanticism (เอโรแมนติกนิยม)

คำนามของเอโรแมนติก


Alloromantic (แอลโลโรแมนติก)

หมายถึง บุคคลที่มีแรงดึงดูดทางใจแบบโรแมนติก หรือ บุคคลที่ไม่ได้มีความหลากหลายทางเอโรแมนติก

ศัพท์นี้ใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจาก: Queenie


Allosexual (แอลโลเซ็กชวล)

หมายถึง บุคคลที่มีแรงดึงดูดทางเพศ หรือ บุคคลที่ไม่ได้มีความหลากหลายทางเอเซ็กชวล

ประสมคำโดย Hezekiah


Asexual/ace (เอเซ็กชวล/เอซ)

ทั่วไปหมายถึง บุคคลที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศ (มักใช้คำย่อว่า เอซ ซึ่งมาจาก เอเซ็กชวล) อีกแง่หนึ่งยังหมายถึง บุคคลที่มีประสบการณ์ทางเพศที่ตัดขาดจากบรรทัดฐานหรือความคาดหวังของสังคม เนื่องจากรู้สึกไม่พึงใจหรือไม่สนใจเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้ คำที่ครอบคลุมความหมายโดยกว้างสำหรับเอเซ็กชวลอีกหนึ่งคำคือ Asexual spectrum/acespec (เอเซ็กชวลสเปกตรัม/เอซสเปก) ซึ่งอธิบายถึงความหลากหลายทางเอเซ็กชวล มักใช้ในบริบทที่คล้ายคลึงกับความหลากหลายทางเอโรแมนติก แต่สื่อถึงแรงดึงดูดทางเพศแทน


Allo aro (แอลโล เอโร) หรือ Aro allo (เอโร แอลโล)

คำย่อของ Allosexual aromantic (แอลโลเซ็กชวล เอโรแมนติก) ใช้สื่อถึงกลุ่มคนที่มีแรงดึงดูดทางเพศ แต่ไม่มีแรงดึงดูดทางใจ

ธงไพรด์


Aroace (เอโรเอซ)

คำย่อของ Aromantic asexual (เอโรแมนติก เอเซ็กชวล) หรือผู้ที่มีทั้งอัตลักษณ์เอโรแมนติกและเอเซ็กชวล

ธงไพรด์แบบต่าง ๆ (original, archived)


A spectrum/a-spec (เอ สเปกตรัม/เอ-สเปก)

  1. คือ คำที่ครอบคลุมความหมายโดยกว้างสำหรับรสนิยมทางใจหรือทางเพศที่มีเงื่อนไข และการไร้แรงดึงดูดทางใจแบบโรแมนติก และ/หรือ การไร้แรงดึงดูดทางเพศ โดยนับเป็นความหลากหลายทางเอโรแมนติกและเอเซ็กชวล (ย่อว่า เอ-สเปก)

  2. ใช้แทนถึงอัตลักษณ์เฉพาะตัวของบุคคล ที่ไม่ได้จำแนกประสบการณ์ทางเพศหรือทางใจที่มีเงื่อนไขหรือการไม่มีแรงดึงดูดดังกล่าวออกเป็นประเภทต่าง ๆ

    ประสมคำโดย Whes and Strategicgoat and Warriorsdebt

        ธงไพรด์แบบต่าง ๆ (original, archived)


Amatonormativity (บรรทัดฐานรักสมรส*)

ฐานความคิดที่ว่า ทุกคนที่มีความสัมพันธ์แบบคู่รักโรแมนติกเพียงหนึ่งเดียวในระยะยาวจะมีชีวิตที่ดีขึ้น รวมไปถึงการคาดคะเนว่า ทุกคนกำลังมองหาความสัมพันธ์ในลักษณะนั้น

ประสมคำโดย Philosopher and professor Elizabeth Brake (original, archived)


Aromisia/Arophobia (อคติต่อเอโรแมนติก)

การไม่ยอมรับ ไม่ชอบ หรือรังเกียจกลุ่มเอโรแมนติก โดย Aromisia เป็นอีกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับ Arophobia หมายเหตุ Phobia (ความหวาดกลัว) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงโรคหรือความกลัวที่เป็นผลมาจากการวินิจฉัยทางการแพทย์


Non-SAM aro

อธิบายถึง เอโรแมนติกที่ไม่ได้จำแนกรสนิยมทางใจและทางเพศของตนเองผ่านกรอบแนวคิด Split Attraction Model (SAM) เอโรที่ไม่ได้ใช้ SAM อาจไม่ได้ระบุรสนิยมทางเพศของตนแบบแอลโลเซ็กชวลหรือเอเซ็กชวล ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับผู้อื่นก็ตาม ในขณะเดียวกัน ยังมีศัพท์อื่น ๆ ที่มีความหมายคล้ายกับ Non-SAM aro จึงมีการถกเถียงอย่างต่อเนื่องถึงศัพท์คำอื่นที่อาจสื่อความหมายได้ดีกว่าและเป็นที่ยอมรับได้มากกว่าภายในกลุ่มชุมชนเอโรแมนติก

ตัวอย่างคำที่ความหมายใกล้เคียงแต่ไม่มีความเกี่ยวโยงกับ SAM คือ Unit aro


Queerplatonic/quasiplatonic Relationship/QPR (ความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิก)

ความสัมพันธ์แบบผูกมัดที่ไม่ใช่รักโรแมนติก มีความแตกต่างจากความสัมพันธ์ฉันเพื่อนที่เป็นไปตามค่านิยมในกระแสหลัก ส่วนใหญ่แล้ว ระดับความใกล้ชิด การวางตัว หรือพฤติกรรมระหว่างผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์มักไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม บางครั้งความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิกอาจรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ หรือการแสดงออกในเชิงโรแมนติก ดังนั้นทุกความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิกจึงแตกต่างกันในทางปฏิบัติ (ย่อว่า QPR ในภาษาอังกฤษ และ QPP จาก queerplatonic (quasiplatonic) partner สำหรับผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิก QPP ยังมีชื่อเล่นว่า Zucchini หรือ ซูกินี อีกด้วย)

ประสมคำโดย Meloukhia and Kaz (original, archived)

แหล่งที่มา [EN](original, archived)


Split Attraction Model (SAM)

เอโรแมนติกบางคนใช้หลักการของกรอบแนวคิด SAM ในการแยกแยะลักษณะของแรงดึงดูดทางใจและทางเพศของตนเองจากประสบการณ์ส่วนตัว เพื่อกำหนดประเภทของแรงดึงดูดเหล่านั้น ผู้ที่ใช้ SAM อธิบายตัวเองอาจมีประสบการณ์เกี่ยวกับแรงดึงดูดข้างต้นแตกต่างกันออกไป จึงเลือกนิยามแรงดึงดูดของตนเองที่มีต่อผู้อื่นอย่างอิสระ ทั้งนี้ SAM อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับทุกคน และมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นมาของกรอบความคิดนี้อยู่เสมอ